วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานประกวด Mrs. Tourism Pageant 2022 ครั้งที่ 5 เปิดประตูต้อนรับ นางงามนานาชาติจากทุกประเทศทั่วโลก ในวันที่ 23 ก.ย. ถึง 2 ต.ค. 2565 โดยปีนี้ได้อย่าง อังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ สาวเก่งมากความ CEO บริษัท รีเจน สมาร์ทซิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด สามารถเป็นตัวแทน ประเทศไทย

ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานประกวด Mrs. Tourism Pageant  2022 ครั้งที่ เปิดประตูต้อนรับ นางงามนานาชาติจากทุกประเทศทั่วโลก ในวันที่ 23 ก.ย. ถึง 2 ต.ค. 2565 

โดยปีนี้ได้ อังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ สาวเก่งมากความ CEO บริษัท รีเจน สมาร์ทซิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด สามารถเป็นตัวแทน

ประเทศไทย




วันที่ 23 มิถุนายน 2565 ณ Show DC Mall บริษัท Tie In Corporation จัดงานแถลงข่าว ประกาศประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดเวทีโลก ของ Mrs. Tourism pageant 2022 โดยมี Mr.LAMBERTO RICALDE บริษัทMEGASTAR PRODUCTION CO. เจ้าของลิขสิทธิ์เวที จาก ประเทศฟิลิปปินส์ และ คุณอภิปภา จันทร์แก้ว Mrs. Tourism the queen mother 2019 Ceo บริษัท 365 อินเตอร์กรุ้ป เจ้าของเวทีในประเทศไทยในปีนี้ และแขกคนสำคัญมากมายเข้าร่วมงาน

หลังจาก การระบาดหนักของโควิด 19 ทุกประเทศเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว จึงเป็นแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันให้มีการจัดประกวด Mrs. Tourism Pageant ขึ้นในปีนี้ ระหว่างวันที่ 23 กันยายน- 2 ตุลาคม 2565 โดยหวังว่า นางงามแต่ละประเทศจะช่วยกันโปรโมท และผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนแนวทางในการทำธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และส่งเสริมวัฒนธรรมระหว่างกัน โดยปีนี้ มีตัวแทนนางงามที่จะเดินทางมาเข้าร่วมการประกวด ที่ เมืองไทย มากกว่า 45 ประเทศทั่วโลก อาทิเช่น เชน่ SINGAPORE, GHANA, MUARITIUS, VENEZUELA, LAOS, BOTSWANA, SOUTH KOREA, JAMAICA, ECUADOR, PERU, TABASCO-LATINA, UNITED KINGDOM, UNITED STATEES OF AMERICA, SOUTH AFRICA, MEXICO, VIETNAM, AUSTRALIA, PHILIPPINES, MYANMAR, NAMIBIA, MALAYSIA, INDIA, JAPAN, COLOMBIA, HAWAII, NEPAL,ITALY, CANADA, NEWZEALAND และประเทศไทยได้ส่งได้ คุณอังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ CEO บริษัท รีเจน สมาร์ท ซิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด สาวเก่งมากความสามารถ เป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดกับนานาชาติ





งานประกวด Mrs. Tourism Pageant  2022 ครั้งที่ 5 นี้ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) Amazing Thailand, คุณเก่ง จักรพันธ์ รัตนเพชร บริษัท WRS GROUP (World Reward Solutions) คุณพันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่คุณนุศรา โผนประเสริฐ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯคุณเมย์ วราลักษณ์ เนินทราย บริษัท Tie in Corporation, คุณปีเตอร์ ฟานซีส แม็คคาเทีย บริษัท SustainLearning LLC, คุณกฤติยาณี พรมแพง บริษัท KPPM Global


โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเป็นเจ้าภาพประกวดครั้งนี้ จะเป็นช่องทาง ในการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวไทย หลังวิกฤตโควิด 19 ให้แก่สายตาชาวโลกได้เห็นอีกครั้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้กลับคึกคักเฉกเช่นที่เคยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก 

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทีเส็บนำไทยชนะใจตลาดยุโรป คว้า 84 งานประชุม คาดนักธุรกิจเข้าไทย 2.8 หมื่นคน สร้างรายได้ 1,800 ล้านบาท

ทีเส็บนำไทยชนะใจตลาดยุโรป คว้า 84 งานประชุม คาดนักธุรกิจเข้าไทย 2.8 หมื่นคน สร้างรายได้ 1,800 ล้านบาท

              ทีเส็บเปิดตัวแบรนด์อุตสาหกรรมไมซ์ไทยสำหรับตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก ณ งาน IMEX Frankfurt 2022 ชูจุดแข็งด้านวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจสำหรับการจัดงาน นำ 14 ผู้ประกอบการไมซ์ไทยพบลูกค้าต่างชาติครั้งแรกในรอบ 2 ปี สร้างความมั่นใจไทยพร้อมจัดงาน คว้ายอดการจัดงานจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (lead) 84 งาน คาดการณ์สร้างรายได้กว่า 1,873 ล้านบาท พร้อมดันไทยเป็นจุดหมายใหม่ของการจัดงานอย่างยั่งยืน (Sustainable Event)

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า ทีเส็บได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่อุตสาหกรรมไมซ์ประเทศไทยสำหรับสื่อสารกับตลาดต่างประเทศ Thailand MICE: Meet the Magic เป็นครั้งแรกในงาน IMEX Frankfurt 2022 ณ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นการเปิดศักราชใหม่ของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ตอบรับนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล และสร้างความเชื่อมั่นให้นักเดินทางไมซ์ต่างชาติเชื่อมั่นในความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการจัดกิจกรรมไมซ์ในทุกรูปแบบ ปีนี้ทีเส็บนำผู้ประกอบการไมซ์ไทย รวม 14 ราย ประกอบด้วยบริษัทผู้ให้บริการด้านบริหารจัดการการเดินทาง (Destination Management Company - DMC) 5 ราย สถานที่จัดงาน 1 แห่ง และโรงแรม 8 แห่ง เข้าร่วมงานเพื่อพบปะเจรจาธุรกิจกับลูกค้าใน Thailand Pavilion ที่ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด Thailand MICE: Meet the Magic ที่นำเสนอความพร้อมของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ มาตรการด้านสาธารณสุขของไทย แนวปฏิบัติด้านสุขอนามัยสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ (COVID Free Setting) มาตรฐานสถานที่จัดงานในประเทศไทย (MICE Venue Standard) การจัดงานอย่างยั่งยืน ศักยภาพเมืองไมซ์ และแพ็กเกจสนับสนุนการจัดงาน ทั้งยังมีกิจกรรมมอบของที่ระลึก “พวงมาลัยผ้า” จากชาวบ้านเมืองฮอด จ. เชียงใหม่ ที่เป็นการนำเสนอ Local Experience ผ่านผ้าไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของไทย และทำให้ได้ใจชาวต่างชาติในงานเป็นจำนวนมาก

                    “IMEX Frankfurt 2022 เป็นงานเทรดโชว์พบปะเจรจาธุรกิจทางด้านไมซ์ที่สำคัญในยุโรป ถือเป็นงานที่รวมผู้ซื้อ (Buyer) ศักยภาพสูงจากทั่วโลก ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 9,000 คน เป็นผู้ซื้อ (Buyer) นานาชาติ 2,876 ราย จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ที่ต้องการหาสถานที่จัดประชุม สัมมนา และวางแผนการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล และมีผู้ขาย (Exhibitor) เข้าร่วมงานจาก 150 ประเทศ นอกจากนั้นในปีนี้ถือเป็นการจัดงานแบบปกติ (Physical Event) ครั้งแรก นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด 19 ขึ้นทั่วโลกในปี 2563 จึงเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย สร้างการรับรู้ว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยและอุตสาหกรรมไมซ์ไทยได้พัฒนาและยกระดับตัวเองอยู่ตลอด เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการจัดงานไมซ์ทุกรูปแบบทันทีที่เปิดประเทศ การเปิดตัวแบรนด์ใหม่ Thailand MICE: Meet the Magic มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นแคมเปญโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่นำความโดดเด่นของไทยคือ ศักยภาพทางวัฒนธรรม อาทิ การบริการ น้ำใจไมตรี ความยืดหยุ่นในการทำงาน การผสานความร่วมมือ เทศกาลประเพณีไทย อาหาร และศักยภาพความเจริญด้านเศรษฐกิจ อาทิ ความครบครันของระบบสาธารณูปโภค ระบบโลจิสติกส์ การคมนาคมขนส่ง ที่พัก มาตรฐานระดับสากล มาตรการด้านสุขอนามัยที่ดี เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาผนวกหลอมรวมเข้าด้วยกันแล้วนำเสนอให้เห็นเสน่ห์รอบด้านของเมืองไทยที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินทางไมซ์ได้อย่างลงตัว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ขับเคลื่อนประเทศไทยในฐานะจุดหมายของการจัดงานไมซ์ให้โดดเด่นในสายตานานาชาติ”

ทั้งนี้ ในส่วนของการเจรจาธุรกิจได้ผลตอบรับจากกลุ่มผู้ซื้อ (Buyer) เป็นที่น่าพอใจ คาดการณ์ว่าจะเกิดการจัดงานจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (lead) ได้ถึง 84 งาน ดึงนักเดินทางไมซ์ต่างชาติเดินทางเข้าประเทศกว่า 28,388 ราย คิดเป็นรายได้ประมาณ 1,873.6 ล้านบาท

นางสาวกฤษณี ศรีษะทิน ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท สตรีม อีเวนต์ เอเซีย จำกัด กล่าวว่า “การเข้าร่วมงานกับทีเส็บครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี เพราะประเทศไทยได้ผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศ สถานการณ์โรคระบาดลดลง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ได้พบปะลูกค้าในยุโรปและทราบถึงศักยภาพการตลาด เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าที่วางแผนมาจัดงานในประเทศไทย จึงถือเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับวงการไมซ์ไทยและประเทศไทยในภาพรวม”

นางสาวประภา เตรียมศศิธร ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แสดงความเห็นว่า “ปีนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม มีการเปิดประเทศในปีที่ทางศูนย์ฯ วางแผนเปิดตัวพื้นที่ประชุมใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมหลังจากได้ปิดปรับปรุงมา 3 ปี สอดรับกับความต้องการของลูกค้าที่มองหาสถานที่จัดงานใหม่ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่จะมาจัดงานขนาดใหญ่ระดับผู้ร่วมงาน 1 พันคนขึ้นไป เป็นส่วนที่ได้รับการตอบรับที่ดีเพราะทางศูนย์ฯ สามารถรองรับได้” 

ในส่วนของผู้ประกอบการโรงแรม นางสาวนงเยาว์ รัตนเย็นใจ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท กล่าวว่า “การเข้าร่วมงานในปีนี้เป็นโอกาสที่ได้เรียนรู้พัฒนาการใหม่ๆ แนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของวงการไมซ์ ประการสำคัญคือแรงตอบรับที่ชัดเจนจากลูกค้าต่างประเทศทั้งในส่วนของสมาคม องค์กร บริษัท และนักวางแผนการประชุมที่มีแผนงาน กำหนดการที่ชัดเจนมาพูดคุย เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ประเทศไทย”

                 นอกจากนี้ยังถือเป็นครั้งแรกของ Thailand Pavilion ที่ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการจัดงานอย่างยั่งยืน หรือ IMEX People & Planet Pledge ที่ใช้การออกแบบตามหลักการ Reduce, Reuse, Recycle ในทุกองค์ประกอบ และได้รับการยอมรับในฐานะ Green Booth ทั้งนี้ ทีเส็บได้นำผ้าจากการตกแต่งงานอีเวนต์อื่นๆ กลับมาใช้ใหม่ เช่น ผ้าคลุมเก้าอี้ เข็มกลัดติดสูทของผู้ประกอบการไทย และเลือกใช้โครงสร้างบูธจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น โครงสร้างเหล็กและผ้า  รวมถึงการใช้วัสดุและผู้รับเหมาจากท้องถิ่น เพื่อลดมลพิษและการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่ง ทำให้ Thailand Pavilion สามารถเลี่ยงการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 2.610 ตันคาร์บอน เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 158 ต้น และถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นของทีเส็บ ในการผลักดันอุตสาหกรมไมซ์ไทยให้จัดงานอย่างยั่งยืน (Sustainable Event) และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของการจัดงานไมซ์อย่างยั่งยืนในระดับโลก


วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

“กรุงไทยพานิชประกันภัย” คว้ารางวัล “MEA ENERGY AWARDS” อาคารประหยัดพลังงาน ของ กฟน.

“กรุงไทยพานิชประกันภัย” 

คว้ารางวัล “MEA ENERGY AWARDS” 

อาคารประหยัดพลังงาน ของ กฟน.

                    “MEA ENERGY AWARDS” เป็นรางวัลที่มอบให้กับอาคารประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารปีที่ 6 จัดโดยการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. (Metropolitan Electricity Authority : MEA)

                         ปี 2565 นี้ บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในนามอาคาร เคพีไอ ทาวเวอร์ คว้ารางวัลดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 ด้วยการดำเนินนโยบายที่ตอกย้ำประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการพลังงานและระบบอากาศภายในอาคารที่มีคุณภาพ

                 ดร. พงษ์ภาณุ ดำรงศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ เคพีไอ (KPI) กล่าวถึงจุดเริ่มต้นการเข้าร่วมโครงการ “MEA ENERGY AWARDS” ว่าเกิดจากบริษัทฯ ต้องการเดินหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development โดยเน้นหลักปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ตามกรอบ SDGs ของสหประชาชาติ บนแนวคิดของบริษัทที่ว่า “ก้าวอย่างมุ่งมั่นเพื่อวันข้างหน้าที่ยั่งยืน” หรือ “Step for Tomorrow Sustainability  ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วยการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well Being) การรับมือกับสภาวะโลกร้อน (Climate Action) การผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (Responsible Consumption)

       เมื่อการใส่ใจรับผิดชอบต่อสภาวะโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่กรุงไทยพานิชประกันภัยให้ความสำคัญ จึงได้มีแผนจัดการดูแลอาคาร เคพีไอ ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานของกรุงไทยพานิชประกันภัยตั้งแต่แรกเริ่มก่อสร้างอาคาร 

     เริ่มต้นดี...มีชัยไปกว่าครึ่ง กรุงไทยพานิชประกันภัยได้เริ่มก่อสร้างอาคาร เคพีไอ ทาวเวอร์ แห่งนี้ในปี 2552 หรือเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยวางคอนเซ็ปต์การก่อสร้างอาคารให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ตัวอาคารมีการก่อสร้างด้วยการใช้ผนังกระจกโดยรอบ เพื่อให้มีแสงธรรมชาติส่องถึงเข้ามาภายในอาคารทำให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ระบบจัดการอากาศหมุนเวียนภายในอาคาร รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่บริษัททำอย่างต่อเนื่องเช่น การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าในบางพื้นที่ของอาคารให้เป็นหลอดประหยัดไฟอัตโนมัติ และเปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED T5 ที่ประหยัดกว่าหลอดประเภทอื่นประมาณ 40 - 50 % ปรับปรุงระบบปรับอากาศให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและรณรงค์ให้ความรู้ด้านการลดการใช้พลังงานแก่พนักงานหรือผู้ใช้อาคารให้ร่วมกันประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง มีการวัดค่า PM 2.5 เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เรื่องความสะอาดอาคาร กำจัดฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาที่อาจกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและผู้ใช้อาคาร มุ่งเน้นให้มีการดูแลพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ปลอดภัย และน่าอยู่อย่างสม่ำเสมอ

             นอกจากนี้ กรุงไทยพานิชประกันภัย ยังนำแนวคิดแผนพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development ที่ได้วางแผนโครงการต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การลดใช้พลังงานในปี 2565 ในหลากหลายแนวทาง เช่น สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก เช่น ใช้รถไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาต่าง ๆ 

     ขณะเดียวกันกรุงไทยพานิชประกันภัยมีเป้าหมายในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดยมุ่งเน้นการ เติบโตสู่อนาคตที่ยั่งยืน “Step for Tomorrow Sustainability” ขับเคลื่อนธุรกิจบนรากฐานที่มั่นคงแข็งแกร่ง โดยยึดหลักบรรษัทภิบาล มุ่งเน้นความเป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมกับเดินหน้าสู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ด้วยการดำเนินตามนโยบายที่วางไว้

                    ส่วนการรับมือกับสภาวะโลกร้อน (Climate Action) ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นความท้าทายสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติ การเปลี่ยนรูปแบบการกระจายของเชื้อโรคและพาหะนำโรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยสำคัญคือ ก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมในการ ลด ละ เลิกการใช้ทรัพยากรที่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถรับมือกับปัญหาภัยธรรมชาติได้ดีขึ้น ตลอดจนการลงทุนในองค์กรวิสาหกิจที่ช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน

                นอกจากนี้ยังตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well Being) โดยการสร้างหลักประกันการมีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน ทุกวัย บริษัทฯ ได้พัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยและพัฒนาการให้บริการ เพื่อดูแลลูกค้าและยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัย กลุ่มลูกค้าเปราะบาง ให้สามารถเข้าถึงการประกันภัยประเภทต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยสามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันความมั่นคงของครอบครัวได้ อย่างไรก็ตามการผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production) สามารถบริโภคแบบรักษ์โลกได้ เพื่อส่งให้คนรุ่นลูก รุ่นหลาน ของเรายังได้มีกินมีใช้กันต่อไปในอนาคต

             “รางวัล “MEA ENERGY AWARDS”  ถือเป็นรางวัลแห่งความภูมิใจของกรุงไทยพานิชประกันภัย ที่ได้รับรางวัลนี้อีกครั้ง โดยครั้งแรกได้รับเมื่อปี 2560 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงการรักษาคุณภาพและความใส่ใจต่อการบริหารจัดการอาคารที่มีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้อาคาร เคพีไอ ทาวเวอร์ ยังเป็นอาคารที่ได้มาตรฐานในการประหยัดพลังงานมาโดยตลอด” ดร. พงษ์ภาณุ กล่าวเพิ่มเติม

                  กรุงไทยพานิชประกันภัยยืนยันเดินหน้าสนับสนุนทุกกิจกรรมที่สามารถช่วยดูแลโลกและสังคมส่วนรวมให้เกิดการพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนในทุกมิติ 






วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565

Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยูนิคอร์นใหม่เศรษฐกิจไทย “ยุคโควิด”

Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

ยูนิคอร์นใหม่เศรษฐกิจไทย “ยุคโควิด”

     ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กระแสการดูแลสุขภาพเริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และ การระบาดของเชื้อไวรัส ยิ่งกลายเป็นตัวกระตุ้นกระแสรักสุขภาพมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณไปทั่วโลก เพราะมนุษย์เริ่มตระหนักว่า หนึ่งในวิธีสำคัญที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคผู้รุกรานนั่นก็คือ การทำให้ตัวเราแข็งแรง มีเกราะป้องกันที่มีคุณภาพที่สุด มีภูมิต้านทานสูงขึ้น ซึ่งการจะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องอาศัยความมีวินัย ความรู้ ในการหมั่นบำรุงดูแลร่างกายของเราอยู่เสมอ เพราะกว่าจะได้รับสุขภาพดีต้องใช้เวลา

     ปัจจัยอีกข้อหนึ่งที่ทำให้การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ หลายประเทศทั่วโลกกำลังทยอยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ในปี ค.ศ. 2020 ทั่วโลกมีประชากรผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เฉลี่ยประมาณ 13.5% หรือเป็นจำนวนประมาณ 1,049 ล้านคนทั่วโลก และจะเพิ่มเป็น 21% หรือ 2,100 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2564 เรามีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี ราวๆ 13 ล้านคน หรือประมาณ 20% ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมีการประเมินว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า ปี พ.ศ. 2575 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุดคือ มีคนอายุเกิน 60 ปี สูงถึง 28% ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไปในวงกว้าง ทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคมและระดับครอบครัว “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่”

         หมอแอมป์-นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ นายกสมาคมแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมการศึกษาโรคอ้วน กรุงเทพ (BARSO) และประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) กล่าวแสดงความกังวล “เพราะเมื่อผู้สูงอายุมากขึ้น แต่คนเกิดน้อยลง คนวัยทำงานจึงลดจำนวนลงด้วย ทำให้ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อมาเลี้ยงดูทั้งครอบครัว ไม่ใช่แค่ภรรยา สามีและลูก แต่รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ไปจนถึงรุ่นปู่ย่าตายาย” 

     ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิต สิ่งนี้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ตั้งแต่ระดับเล็กจนไปถึงระดับใหญ่ เมื่อประเทศมีคนทำงานน้อยลง ศักยภาพในการเดินหน้าผลักดันประเทศก็จะน้อยลงตามไปด้วย การจัดเก็บภาษี การจัดเก็บรายได้ก็จะน้อยลง ต้องพึ่งพาการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้นย่อมดีกว่า หากมีการวางแผนดูแลสุขภาพตัวเราและผู้ใหญ่ในบ้านให้อายุมากขึ้นแบบมีคุณภาพ ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรครุมเร้า และช่วยเหลือตัวเองได้ 

   ปัจจัยอีกข้อหนึ่งที่ผลักดันให้มนุษย์หลายคนหันกลับมาวางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย ก็คือโรคที่เกิดจากน้ำมือตัวเรา หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-communicable diseases (NCDs)’ กลุ่มโรคนี้เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทั้งโลกเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ เพราะกลุ่มโรค NCDs เปรียบเสมือนเพชฌฆาตเงียบ ที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามา แอบซ่อนเข้ามาในรูปแบบต่างๆ เช่น การนอนน้อย ความเครียดสะสม การรับประทานอาหารไม่ดี ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำตาล High Fructose Corn Syrup (HFCS) ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว การไม่ออกกำลังกาย การขยับตัวน้อยๆ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่างๆ สุรา บุหรี่ และฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นต้น  

    ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2563 ผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากกลุ่มโรค NCDs สูงถึง 71% หรือเป็นจำนวน 41 ล้านคนทั่วโลก และในปี พ.ศ. 2562 คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs สูงถึง 76.58% มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก หรือนับเป็นจำนวนเท่ากับ 351,880 คน ถูกหากคำนวณง่ายๆ ทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs สูงถึง 44 คน

   กลุ่มโรค NCDs หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบไปด้วยโรคต่างๆ ที่ส่วนใหญ่เกิดมาจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต แต่สิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่วันนี้คือ "วิถีชีวิต" ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติตัวของเรา กลุ่มโรค NCDs ประกอบไปด้วย

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก หรือ Stroke โรคนี้คร่าชีวิตประชากรไทยเป็นอันดับหนึ่งในตระกูลโรค NCDs 2. โรคเบาหวาน 3. โรคความดันโลหิตสูง 4. โรคหลอดเลือดหัวใจ 5. โรคมะเร็งหลายชนิด 6. โรคทางเดินหายใจและปอด และ 7. โรคสุดท้าย คือ โรคอ้วน 

     จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ “กระแสการดูแลสุขภาพ” เติบโตไปทั่วโลก สถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute; GWI) ประเมินมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพทั่วโลก (Global Wellness Economy) พบว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลค่าการตลาดทางด้านสุขภาพทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในปี พ.ศ. 2562 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  เฉลี่ยเติบโต ประมาณ 6-7 % ทุกปีติดต่อกันมาตลอดหลายปี จนมาถึงช่วงโควิดระบาด ส่งผลกระทบให้การเดินทางยากขึ้น หลายประเทศมีการปิดเส้นทางการเดินทาง ต้องอยู่แต่ในประเทศตัวเอง เพื่อการควบคุมโรค ทำให้มูลค่ารวมของกระแสธุรกิจทางด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นมาตลอด 10 ปี ร่วงลงไป ในปี พ.ศ. 2563 ร่วงลงมาอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  

          แม้ว่าภาพรวมมูลค่าเศรษฐกิจจะตกลง แต่ยังมีอยู่ 4 สาขาที่ยังคงเติบโตสวนกระแส แม้กระทั่งช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 นั่นคือ

         Wellness Real Estate หรือ อสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เติบโตขึ้นมาในปี พ.ศ. 2563 มูลค่าสูงถึง 275,100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เติบโตกว่าปีก่อนหน้าถึง 22.1% ถึงแม้ว่าช่วงที่โควิดระบาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางไม่ได้ ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงมาก แต่อสังหาริมทรัพย์หลายที่ทั้งในกลุ่มโรงแรมและที่อยู่อาศัย ได้ปรับตัวเองให้เอื้อไปทางด้านสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องกรองอากาศ การฆ่าเชื้อ หรือปรับสถานที่ให้เอื้อกับผู้สูงอายุ นั่นคือหลักการที่ทำให้สาขานี้เติบโตทั่วโลกสูงเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มการดูแลสุขภาพมากถึง 22.1% ในปีที่ผ่านมา

        Mental Wellness เป็นสาขาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต การลดความเครียด การนอนที่มีคุณภาพ ไปจนถึงการนั่งสมาธิ หรืออื่นๆ ที่ช่วยในการดูแลจิตใจ เป็นสาขาที่เกิดมาใหม่ แต่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว มูลค่าในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา สูงถึง 131,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตมากถึง 7.2% เป็นอีกสาขาที่เติบโตสวนกระแสโควิด เพราะเมื่อมีโรคระบาด ผู้คนย่อมมีความเครียด ต้องหาวิธีในการจัดการ ควบคุม หรือระบายความเครียดออกไป ยิ่งดูแลสุขภาพจิตได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี

    Public Health, Preventive and Precision Medicine หรือภาคสาธารณสุข เวชศาสตร์ป้องกัน และการแพทย์เฉพาะบุคคล เน้นการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน ดูแลร่างกายก่อนการเจ็บป่วย เพื่อที่จะทราบความเสี่ยงของโรค และวางแผนการดูแลตัวเองอย่างดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ สาขาดังกล่าวเติบโตทั่วโลกสูงถึง 4.5% มูลค่าในปี พ.ศ. 2563 อยู่ที่ 375,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

       Healthy eating, Nutrition and Weight loss เกี่ยวข้องกับอาหารสุขภาพ อาหารที่รับประทานแล้วดีกับร่างกาย อาหารไขมันต่ำ อาหารน้ำตาลต่ำ อาหารโซเดียมต่ำ อาหารลดน้ำหนัก อาหารออร์แกนิค ในปีพ.ศ. 2563 สาขานี้มูลค่าสูงถึง 945,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตสูงขึ้น 3.6%

        ทั้งหมดนี้คือ 4 สาขาที่เติบโตขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่วนสาขาที่มูลค่าลดลงมากที่สุดคือ Wellness Tourism เพราะข้อจำกัดทางด้านการเดินทางและการควบคุมโรคระบาด 

             คุณหมอแอมป์จะมาเจาะลึก Wellness Tourism หรือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจในรายละเอียด ว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคืออะไร 

            มูลค่าของ Wellness Tourism ในปี พ.ศ. 2561 มีมูลค่าสูงถึง 617,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีต่อมาพ.ศ. 2562 เติบโตขึ้นถึง 720,400 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 8.1% ต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยมูลค่าโดยรวมของสาขาธุรกิจเวลเนสทั้งหมดที่เติบโตปีละ 6.4% อย่างไรก็ตามปี พ.ศ. 2563 มาตรการควบคุมโรคโควิด 19 ทำให้มูลค่าตลาดเล็กลง เหลือเพียง 435,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตกลงมาถึง 39.5% และมีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา มูลค่าได้กลับมาเท่ากับ 652,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกลับมาเติบโต 20.9 % 

      คุณหมอแอมป์แสดงความคิดเห็นว่า “ถ้ากลับมาเปิดประเทศ หรือโรคระบาดสามารถควบคุมได้ ความอันตรายลดลง การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว จะช่วยให้กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกลับมาแน่นอน” จากการประเมินของ Global Wellness Institute การท่องเที่ยงเชิงสุขภาพ จะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปีนี้ไปอีกหลายปี โดยเติบโตเฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% และมูลค่าสาขานี้จะทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2567 พอรู้อย่างนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวให้พร้อมไว้ได้เลย 

       จากรายงานของ Global Wellness Institute ในปี พ.ศ. 2561 อัตราการเติบโตของ Wellness Tourism ในทวีปเอเชีย สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เติบโตขึ้น 33% จาก 194 ล้านทริป เป็น 258 ล้านทริปภายในช่วงเวลาสองปี เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของนักท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่มมาอย่างยาวนาน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะเป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญที่เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพของอุตสากรรมการท่องเที่ยวให้กับประเทศ เพราะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง มีจำนวนวันพักที่ยาวนาน และมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการท่องเที่ยวแต่ละครั้งสูงกว่านักท่องเที่ยวแบบปกติ โดยข้อมูลจาก Global Wellness Institute รายงานว่านักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีค่าใช้จ่ายต่อหัว ประมาณ 50,000 กว่าบาท ต่อการเที่ยวหนึ่งครั้ง ซึ่งสูงกว่านักท่องเที่ยวแบบปกติถึง 53%  และแน่นอนว่า เมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จบลง หลายประเทศจะหันมาผลักดันตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกันมากขึ้น 

“คิดภาพตามนะครับ ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในหลายๆ ด้าน หากเราสามารถขยายฐานตลาดการท่องเที่ยวเพิ่มได้ สร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวพักผ่อนใช้จ่ายในประเทศเรามากขึ้น เม็ดเงินก็จะไหลเวียนเข้าสู่เศรษฐกิจมากขึ้นด้วย เกิดประโยชน์ให้ประเทศได้ในหลายภาคส่วน”

     ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยเรามีนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสูงถึง 12.5 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้สูงถึง 409,000 ล้านบาท การจ้างงานสูงถึง 530,000 คน ประเทศเราติดอันดับ 4 ของเอเชีย ในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองจากจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย เติบโตเป็นอันดับ 10 ของโลก และมีโอกาสไต่อันดับขึ้นมาได้อีก หากวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากทั่วโลกอย่างเหมาะสม ประเทศไทยยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว

1. การวิจัยจากมหาวิทยาลัย John Hopkins ให้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 ของโลก หรือที่ 1 ของเอเชีย จาก 195 ประเทศทั่วโลก ในเรื่องดัชนีความมั่นคงทางด้านสุขภาพ

2. ประเทศไทยเป็น Medical Hub ในการให้บริการทางการแพทย์ระดับโลก และมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สูง ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คุณภาพของการรักษาพยาบาลประเทศในประเทศไทยสามารถดูแลรักษาตัวเขาหรือครอบครัวของเขาได้

3. ติดอันดับที่ 2 ของโลก จากการโหวตให้เป็นประเทศเป้าหมายที่อยากคนอยากมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองจากออสเตรเลีย จากการจัดอันดับของ Wellness Tourism Initiative 2020 

4. กรุงเทพฯ ได้รับการจัดเป็นอันดับที่ 1 ของโลก สำหรับสถานที่เหมาะสำหรับทำงานไปด้วยท่องเที่ยวไปด้วย หรือที่เรียกว่า Workation จาก Holidu Magazine UK ตามมาด้วย เชียงใหม่ ภูเก็ต ได้อันดับ 10 ของโลก

5. ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่อันดับ 5 ของโลก จาก Money UK เป็นสถานที่ที่คนเกษียณอายุอยากไปอยู่ที่สุด 

6. กรุงเทพมหานคร ได้อันดับ 1 ของ Best Cities จากการสำรวจ Readers’ Choice Awards 2022 ของนิตยสาร DestinAsian  

      ประเทศไทยถือว่ามีจุดแข็งในเรื่องของเอกลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณี อาหารไทย อย่างแกงมัสมั่น ต้มยำกุ้ง และส้มตำ (ถูกจัดอันดับ 50 อาหารที่ดีที่สุดในโลกโดย CNN) ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์  นวดแผนโบราณ ซึ่งจัดเป็น อำนาจอ่อน (Soft Power) ที่สามารถนำมาใช้ส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้คนเดินทางเข้าสู่ประเทศ ซึ่งประเทศไทยถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 35 จาก Global Soft Power Index 2022 จัดทำโดย Brand Finance

    แม้ว่าความหมายของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละประเทศ แต่จะมีส่วนหลักๆ ที่คล้ายกัน คือ ‘คนที่มาเที่ยวไม่ได้ป่วย’ แต่เน้นการเที่ยวแบบดูแลสุขภาพไปด้วย “อาจมีการพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ ตรวจระดับไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันพอกตับ การแพ้อาหาร หรือเจาะรหัสพันธุกรรม เพื่อดูความเสี่ยงของโรคต่างๆในอนาคต ก่อนกลับประเทศก็มาฟังผลตรวจสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพ” คุณหมอแอมป์อธิบายให้เราเห็นภาพมากยิ่งขึ้น

        นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบางกลุ่ม ต้องการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารเกษตรอินทรีย์ อาหารท้องถิ่นที่มีเรื่องราว ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มมูลค่าของอาหารได้จากตรงนี้ เมื่ออาหารมีเรื่องราว จะมีความน่าสนใจ น่ารับประทานมากขึ้น อาหารจะต้องไม่หวานจัด เค็มจัด มันจัด หรือเป็นอาหารแปรรูปต่างๆ ควรเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 

     ส่วนบางกลุ่มต้องการมาดูแล ลดความเครียด ผ่อนคลายสุขภาพจิต ประเทศไทยมีทางเลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอร์สนั่งสมาธิ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกรม การเล่นโยคะ การเล่นไทเก๊ก ไปจนถึงการนวดไทย แพทย์แผนไทย ลูกประคบ สิ่งต่างๆเหล่านี้ สามารถดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายของนักท่องเที่ยวได้ 

     นักท่องเที่ยวบางกลุ่มต้องการเสพงานศิลปะ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วัดวาอาราม ลงรายละเอียดของแต่ละสถานที่แทนการไปเที่ยวหลายๆที่ในวันเดียว ต้องการผู้รู้หรือคนท้องถิ่น มาเล่าให้ฟัง แบบนั้นก็เรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเช่นกัน เพราะเป็นการท่องเที่ยวแบบได้ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบจนเกินไป 

     นักท่องเที่ยวบางกลุ่มต้องการมาเที่ยวและหากิจกรรมออกกำลังกายต่างๆ เช่น เดินป่า ปีนเขา เที่ยวชมธรรมชาติ ดำน้ำ  พายเรือ หรือผจญภัยที่ต่างๆ บางกลุ่มอาจต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น มาพักโฮมสเตย์ (Home stay) เรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี การใช้ชีวิตของชาวบ้านอย่างใกล้ชิด ได้ผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบ หลีกหนีจากชีวิตสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ รวมถึงการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้สมุนไพร แช่น้ำพุร้อน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต 

     นอกเหนือจากกิจกรรมต่างๆ แล้ว นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ต้องการที่พักที่ปลอดภัย เช่น ที่พักที่มีราวจับและแผ่นกันลื่นในห้องน้ำ หรือตอนกลางคืน มีไฟส่องสว่างแบบอัตโนมัติ เวลาขยับตัว ไฟจะติดได้เอง ลดโอกาสการสะดุดหกล้ม เวลาเดินไปห้องน้ำ ที่พักต้องมีเครื่องกระตุกหัวใจ (AED) ติดไว้ตามจุดต่างๆ ในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็สามารถช่วยชีวิตได้ 

      สุดท้ายคุณหมอแอมป์ได้ฝากข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้สนใจอยากวางแผนดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ได้ลองไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง 

ภาคโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ เกสต์เฮาส์ ที่พักต่างๆ  

- ร่วมมือกับสถานพยาบาล คลินิค โรงพยาบาล ออกแบบบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถมาพักผ่อน ร่วมกับการตรวจร่างกายประจำปี การดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมงานมืออาชีพ

- ปรับสถานที่ให้เอื้อกับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้มีที่จับ ราวจับ ตามที่ต่างๆ เพื่อป้องกันการหกล้ม เช่น ในห้องน้ำ ในห้องอาบน้ำ ทางขึ้นลงบันได และมีการติดสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง ในบริเวณที่ต่างระดับ 

- ไฟส่องสว่างยามค่ำคืน แบบเซนเซอร์ ป้องกันการสะดุด เตะโต๊ะหรือเตียง 

- ปรับพื้นที่ป้องกันการลื่นหกล้ม เช่น พื้นห้องน้ำไม่ให้ลื่นจนเกินไป ลดพื้นที่ต่างระดับทั้งภายในและภายนอกที่พักอาศัย เพิ่มทางลาดเอียงสำหรับรถเข็นและให้สะดวกสำหรับผู้สูงอายุ

- เตียง ฟูก หมอน มีหลายระดับ ความแข็งความนุ่มตามความต้องการของแขกผู้มาพัก เพราะบางคนมีข้อจำกัดทางสุขภาพ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ หรือความชอบที่ต่างกัน มีการแจกที่อุดหู ป้องกันเสียงรบกวน ผ้าม่านกันแสงแดดป้องกันแสงไม่ให้เล็ดลอดเข้ามาภายในห้อง ทำให้การนอนหลับมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง

- ในกรณีมีที่พักหลายชั้น มีติดตั้งลิฟท์ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงง่ายขึ้น 

- อาจเพิ่มเติมอุปกรณ์ ออกกำลังกายภายในห้องพัก เช่น ที่ยกน้ำหนัก ลูกตุ้ม จักรยาน ลู่วิ่งอยู่กับที่ เสื่อโยคะ แม้ว่าการออกกำลังกายกลางแจ้งหรือภายในห้องออกกำลังจะดีกว่า แต่บางครั้งผู้เข้าพักอาจไม่สะดวก การเพิ่มทางเลือกให้ออกกำลังกายภายในห้องพักได้ จะเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น

- มีการฝึกพนักงานในการช่วยชีวิต ปั๊มหัวใจกรณีฉุกเฉิน ติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจ AED เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และรักษาชีวิตได้

- มีรถเข็นไว้คอยบริการผู้สูงอายุ

- ใช้ผลิตภัณฑ์จำพวก สบู่ แชมพูสระผม ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี

- ลดการใช้พลาสติก เพื่อสุขภาพของโลก หันมาใช้หลอดกระดาษ น้ำขวดแก้ว เป็นต้น

ร้านอาหารต่างๆ

- เลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากท้องถิ่น เป็นของดีมีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพ จำพวกพืชผักสวนครัว ธัญพืช ผลไม้ เกษตรอินทรีย์ ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

- อาหารกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปราศจากยาฆ่าแมลงและสารเคมี สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้มาก

- ทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพลดการใช้น้ำตาล หรือ เกลือที่มากเกินไป เน้นธัญพืช ผัก ผลไม้ บำรุงสุขภาพแทน ของทอด ของมัน อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำตาล High Fructose Corn Syrup (HFCS) ซึ่งเป็นของอันตรายสำหรับผู้ที่รักษาสุขภาพ

- เนื่องจากนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มักเป็นกลุ่มคนที่มีอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป หรือที่เรียกกว่ากลุ่ม Silver age มีที่มาจากเส้นผมที่เริ่มเป็นสีเงิน ซึ่งจัดเป็นวัยที่มีอิสระ มีเงิน มีเวลา ร้านอาหารสามารถปรับเมนูเป็นตัวหนังสือใหญ่ขึ้น รูปภาพมากขึ้น ทำให้สะดวกในการอ่าน มีข้อมูลโภชนาการ เช่น ปริมาณพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ แสดงให้เห็นว่าเป็นร้านอาหารที่สนับสนุนเรื่องสุขภาพ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สามารถเพิ่มเติมบริการทางสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจ

 - การท่องเที่ยวเชิงออกกำลังกายต่างๆ เช่น เดินป่า ปีนเขา ดำน้ำ ไทเก๊ก พายเรือ หรือผจญภัยที่ต่างๆ โดยอาจเสริมการพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดในวันแรกของการมาเที่ยว แล้วต่อด้วยการทำกิจกรรมการออกกำลังกายในวันถัดไปของการเข้าพัก

- การให้บริการการดูแลสุขภาพจิต เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม โยคะ ไทเก๊ก โดยผู้ประกอบการสามารถเพิ่มมูลค่าได้ทั้งหมดเมื่อเอาเรื่องสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง

- บริการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มบริการการนวดเพื่อสุขภาพ เช่นการนวดไทย การนวดสากล การแช่ตัวด้วยน้ำพุร้อน อ่างน้ำวน การอบสมุนไพร หรือการดูแลผิวพรรณต่างๆ

         การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สร้างงานให้ชุมชนท้องถิ่น พาชมพร้อมเรียนรู้ ศิลปะวัฒนธรรมของประเทศ จัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะดีต่อสุขภาพจิตเช่นกัน

      การท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น นักท่องเที่ยวได้ผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบ หลีกหนีจากชีวิตสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ 

     การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชุมชน สัมผัสประสบการณ์จริง ของการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ทดลองดำนา  ไถนา เก็บไข่ไก่ จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเข้าใจว่า พืชเติบโตมาด้วยวิธีการใด ดูแลรักษาอย่างไร รวมถึง พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ เช่น พืชผักเฉพาะถิ่น สินค้าทางการเกษตรเฉพาะถิ่น

    โฮมสเตย์ (Home stay) ในแง่ของการท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน นักท่องเที่ยวจะอาศัยร่วมกับเจ้าของบ้าน สัมผัสวัฒนธรรม ประเพณี การใช้ชีวิตของชาวบ้านอย่างใกล้ชิด เจ้าของบ้านจะต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยความเป็นมิตร ท่ามกลางบรรยากาศแบบชนบทที่เงียบสงบ จัดเตรียมอาหารเฉพาะถิ่นที่มีความแปลกใหม่ เป็นประสบการณ์พิเศษจากการท่องเที่ยว

     แพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย ช่วยยกระดับให้การท่องเที่ยวมีคุณภาพและเข้าถึงกลิ่นอายของประเทศไทยได้มากขึ้น เช่น การนวดไทย ลูกประคบ สมุนไพรไทย บำรุงสุขภาพ เช่น กระชาย ขมิ้นชัน มะขามป้อม มะกรูด กะเพรา และพืชอีกหลายชนิด ซึ่งล้วนดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น หรือการแช่น้ำพุร้อน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต การพอกโคลนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุเพื่อดูแลสุขภาพผิว เป็นต้น

     สุดท้ายนี้คุณหมอแอมป์เน้นย้ำว่า การจะทำทุกอย่างที่กล่าวมาให้ประสบความสำเร็จ และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกคนทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ นักวิชาการ ประชาชน เจ้าของพื้นที่ หรือคนในท้องถิ่นนั้นๆ จนกระทั่งภาครัฐบาล รวมไปถึงนโยบายต่างๆ ต่างต้องร่วมกันคนละไม้คนละมือ ผลักดันให้ประเทศชาติเรา เป็นที่น่าดึงดูด ให้คนทั้งโลกมาเที่ยวและได้รับสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจกลับไป




DGA ผนึก 7 ผู้นำด้านดิจิทัล อัพสกิลเติมความรู้ภาครัฐไทย เร่งขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

DGA ผนึก 7 ผู้นำด้านดิจิทัล อัพสกิลเติมความรู้ภาครัฐไทย เร่งขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล


สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล : Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA  มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลของประเทศด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้เติบโตก้าวหน้าเกิดประสิทธิภาพสูงสุดครอบคลุมทุกมิติ  จับมือกับพันธมิตร 7 ผู้นำด้านดิจิทัล ได้แก่ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)  บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) บริษัท เฟซบุ๊ก (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการ รวมพลังสร้างคนภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล (TECH FOR GOV GEN1)”  โดยมี ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  ประธานกล่าวเปิดงานและแสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

ความร่วมมือทางวิชาการ รวมพลังสร้างคนภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล (TECH FOR GOV GEN1)” มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางด้านดิจิทัลแบบไม่มีที่สิ้นสุดให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานพันธมิตรได้ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิคและด้านเทคโนโลยีระดับโลกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับในการขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัลของประเทศให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดทันกระแสโลกดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม


                ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรภาครัฐทั้งระบบโดยสถาบัน TDGA เพียงหน่วยเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทำให้การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของคนภาครัฐทำได้รวดเร็วขึ้นและเป็นไปในทิศทาง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะทักษะดิจิทัลด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ  เครื่องมือการทำงานใหม่ๆ ล้วนจำเป็นสำหรับคนภาครัฐในยุคปัจจุบัน DGA จึงเชิญชวนบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง เข้ามาร่วมช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับคนภาครัฐในยุคนี้ และเป็นที่มาของโครงการความร่วมมือในวันนี้ที่เราอยากจะประกาศให้ทุกท่านทราบถึงพลังความร่วมมือของพวกเรา ทุกบริษัทมีความมุ่งมั่นและตั้งใจมากที่อยากจะเข้ามาช่วยภาครัฐ ภายใต้โครงการ รวมพลังสร้างคนภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล (TECH FOR GOV GEN1)”

ด้าน คุณไอรดา  เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวเสวนาความร่วมมือหัวข้อ รวมพลังสร้างคนภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล” ว่า "สถาบัน TDGA มีบทบาทสำคัญในการจัดทำหลักสูตรกลางเพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลของคนภาครัฐ พร้อมจัดการฝึกอบรมให้กับคนภาครัฐทุกกลุ่ม ด้วยหลักสูตรกลางที่จัดทำขึ้น รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน จนเกิดสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือแล้วถึง 54 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ และเป้าหมายของสถาบัน TDGA คือการยกระดับทักษะดิจิทัลของคนภาครัฐให้พร้อมและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกหน่วยงานจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อราชการในยุคดิจิทัลนี้ได้ สถาบัน TDGA จึงร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกสร้างหลักสูตรที่พร้อมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อต่อยอดการทำงานให้กับคนภาครัฐที่ต้องปรับตัวในยุค New Normal ต่อไป"

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมและการพัฒนาศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ผนึกกำลังร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรภาครัฐ  ความร่วมมือในครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจระยะยาวของเราในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัล (ดิจิทัลฮับ) แห่งอาเซียน ผ่านการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำของหัวเว่ย เราเชื่อมั่นว่าความรู้และทักษะของหัวเว่ยจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยได้ นอกจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐแล้ว หัวเว่ยยังให้ความสำคัญต่อนักเรียนนักศึกษาด้วย ASEAN Academy โปรแกรม Seeds for the Future และโครงการฝึกอบรมร่วมกับมหาวิทยาลัย 23 แห่งในประเทศไทย เพื่อบ่มเพาะทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรได้ถึง 20,000 คนภายในปี พ.ศ. 2565 นี้

ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการบริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ค ประจำประเทศไทยและอินโดจีน กล่าวว่า การพัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้บุคลากรภาครัฐเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน  สำหรับทั้งผู้บริหารระดับสูง กลางและระดับปฏิบัติการด้านเทคนิค ที่ผ่านมา ทางบริษัทพาโลอัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ได้มีความร่วมมือกับ TDGA ในหลายมิติ เช่น ร่วมออกแบบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และสนับสนุนผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยพาโลอัลโต้ แอคคาเดมี่ ในการอบรม รวมทั้งร่วมจัดอบรมเฉพาะกิจให้บุคลากรด้านเทคนิคของโรงพยาบาลรัฐ  ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 โครงสร้างพื้นฐานหลักด้านสารสนเทศของประเทศ และได้เล็งเห็นถึงความท้าทายในการเข้าถึงทักษะเชิงปฏิบัติการชั้นสูง ที่บางหน่วยงานขาดทั้งงบประมาณด้านการอบรม  เครื่องมือในการฝึกซ้อม และผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอด จึงนำเสนอการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านไซเบอร์ (Cyber Range Workshop) สำหรับบุคลากรระดับปฏิบัติการด้านเทคนิค โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและในไทยคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ทางบริษัทจะร่วมผลักดันเพื่อสร้างบุคลากรภาครัฐให้ทันต่อความก้าวล้ำของภัยไซเบอร์ในอนาคตด้วยการจะสรรหาหลักสูตรอบรมที่หายากแต่จำเป็นมานำเสนออย่างต่อเนื่อง

อีริค คอนราด กรรมการผู้จัดการสำหรับกลุ่มลูกค้าภาครัฐของ AWS ในภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า การประกาศความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นจาก    บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ในการสนับสนุนนโยบาย ไทยแลนด์4.0 ของรัฐบาลไทย ที่มีความตั้งใจที่จะมอบบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งขับเลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงการเผชิญหน้ากับความท้าทายและแก้ไขปัญหาที่สำคัญในสังคม AWS จะร่วมมือกับรัฐบาลไทย เพื่อช่วยให้พนักจากหน่วยงานภาครัฐสามารถมีทักษะด้านใหม่คลาวด์ คอมพิ้วติ้ง เพื่อนำไปเร่งพัฒนานวัตกรรมได้

คุณทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทยและอินโดจีน) กล่าวว่า “Cybersecurity เป็นฟาวเดชั่นของขับเคลื่อนสู่ความเป็นดิจิทัลในปัจจุบัน ในขณะที่โลกมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องมีผู้คน กระบวนการ และเทคโนโลยีร่วมกันในการตรวจจับ ตอบสนอง และบรรเทาภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เท่าทัน องค์กรในประเทศไทยเริ่มขับเคลื่อนสู่เส้นทางดิจิทัล พวกเขาสามารถกำหนดฟาวเดชั่นที่เหมาะสมสำหรับระบบรักษาความปลอดภัย และสร้างธุรกิจบนรากฐานที่แข็งแกร่งที่เชื่อถือได้ หลักของการบรรลุความยืดหยุ่นด้านความปลอดภัย (security resilience) คือการทำให้มั่นใจว่าทีมงานได้รับการฝึกอบรมและตระหนักถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของ DGA เพื่อช่วยให้การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ การตอบสนองและการกู้คืนเหตุการณ์ และการจัดการความเสี่ยงภายนอกของทีมงานเป็นไปอย่างเข้าใจและราบรื่นยิ่งขึ้น

คุณโอม ศิวะดิตถ์ National Technology Officer จากบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย มีความตั้งใจที่จะเสริมศักยภาพทักษะดิจิทัล ให้กับทุกคน ทุกหน่วยงาน และทุกภาคส่วน  ตั้งแต่ความรู้ทางดิจิทัลขั้นพื้นฐาน ไปจนถึง certification สำหรับผู้ที่จะอยู่ในสายงานดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ ดาต้า หรือ AI ผ่านทางหลายแพลตฟอร์มทั้งโดยตรงและร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร  ความร่วมมือทางวิชาการ  รวมพลังสร้างคนภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล (TECH FOR GOV GEN1)” นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญของไมโครซอฟท์ประเทศไทยที่จะร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล หรือ TDGA ในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่บุคลากรภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Digital Government อย่างแท้จริง

คุณฤทธิชัย วานิชย์หานนท์ หัวหน้าทีมที่ปรึกษากลุ่มองค์กรภาครัฐ ธุรกิจยานยนต์และพลังงาน LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “LINE ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพของบุคลากร และหน่วยงานภาครัฐ ให้ก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในครั้งนี้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ LINE ที่มุ่งเน้นการยกระดับให้กับทุกองค์กรธุรกิจในไทย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นหัวใจในการพัฒนาประเทศ ให้เติบโตก้าวหน้าทัดเทียมกระแสโลกในยุคดิจิทัล ด้วยความรู้ ความเข้าใจในด้านการตลาด เทคโนโลยี และความพร้อมในด้านแพลตฟอร์ม เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ อันจะเป็นรากฐานสำคัญผลักดันศักยภาพรัฐบาลดิจิทัลไทยให้ก้าวไกลไปอีกขั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

คุณไมเคิล บัค หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเราเห็นคนไทยมีวิธีการสื่อสารและเชื่อมต่อกันจากทุกๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นกับครอบครัว เพื่อน ธุรกิจหรือแม้แต่กับหน่วยงานภาครัฐ เป้าหมายของเราคือการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่มีความหมายและเสริมให้การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ดูมีชีวิตขึ้นทั้งผ่านทางข้อความ รูปภาพ วิดีโอหรือการถ่ายทอดสด และเราหวังว่าในอนาคต เทคโนโลยีเมตาเวิร์สที่เรากำลังมุ่งหน้าพัฒนาจะยิ่งช่วยเข้ามาเสริมประสบการณ์การเชื่อมต่อนี้ สำหรับพวกเราที่ Meta เรามีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและคนไทย เพื่อที่เราจะได้บรรลุเป้าหมายของชุมชน การให้บริการชุมชนและการส่งเสริมเรื่องข้อมูลข่าวสารให้ไปถึงผู้คนได้อย่างตรงเป้าหมายมากที่สุด

ปัจจุบันนี้ หน่วยงานภาครัฐได้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาให้บริการประชาชน รวมทั้งได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบการทำงานภายในหน่วยงานตลอดเวลาเพื่อให้ทันสมัยก่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุด   เพื่อยกระดับสู่รัฐบาลดิจิทัล ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไป 

 

 

มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ฯ จัดงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ครั้งที่ 36

มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ฯ จัดงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ครั้งที่ 36 งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธร...