วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) พบปะผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13 สาขาอาชีพเดือนละครั้ง เพื่อกระชับความสามัคคี ร่วมมือ แลกเปลี่ยนความคิด ช่วยเหลือกัน

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) พบปะผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13 สาขาอาชีพเดือนละครั้ง เพื่อกระชับความสามัคคี ร่วมมือ แลกเปลี่ยนความคิด ช่วยเหลือกัน 


                  นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ร่วมประชุมกับผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13 สาขาอาชีพ ครั้งที่ 2/2564  ได้แก่ นายชัยพร ศุภนิมิตวิเศษกุล ผู้ช่วยประธาน สทท., นายธนพล ชีวรัตนพร นายกสมาคมฯ และะคุณกัลญาณี อัสนี จาก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.), คุณเฉลียว ปรีกราน นายไพศาล ซื่อธานุวงศ์ และคุณพิมลวรรณ มุสิกอนันต์ชัย ผู้แทนสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย, นายสุทธิพงศ์ เผื่อนพิภพ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA), คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี จากสมาคมโรงแรมไทย (THA), นายโสพนา บุญสวยขวัญ นายกสมาคมฯ และนายสมเกียรติ หินทอง จากสมาคมรถโดยสารไม่ประจำทาง (สสท.), นายพงศกร ชูวิชา นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท) นายดำรงค์วุฒิ วิริยะ สมาพันธ์ท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA)  สมาคมการแสดงสินค้าไทย และสมาคมการค้าธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ. รอยัล พารากอน ฮอลล์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 สนับสนุนสถานที่โดย นายทาลูน เทง 


         นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)  กล่าวว่า  ความร่วมมือของ สทท. กับผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13 สาขาอาชีพ ในการพบปะกันเดือนละครั้ง เป็นเรื่องที่ดีมาก เป็นการกระชับความสามัคคี ระดมความสามารถความคิดเห็นของทุกสาขาอาชีพมาแลกเปลี่ยนกัน  ที่สำคัญคือการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


      โดยการประชุมในครั้งนี้ ผมในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)  และประธานในที่ประชุม ก็ได้แจ้งความคืบหน้าในโครงการต่างๆ อาทิ โครงการเงินกู้ SMEs One , โครงการเราเที่ยวด้วยกัน , โครงการเที่ยวไทยวัยเก๋า และ โครงการเที่ยวคนละครึ่ง ให้สมาชิกในที่ประชุมทราบ และขอให้ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13 สาขาอาชีพแต่ละหน่วยงานแสดงความคิดเห็นต่างๆ เพื่อที่จะหาโอกาสนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงโดยประเด็นหลักในการพบปะกันในความร่วมมือครั้งนี้ คือ

 1. ทางรอด..ท่องเที่ยวไทย จากแนวคิดของสมาชิก ทุกท่าน

2. นโยบายภาครัฐ กับการ เยียวยา ฟื้นฟู การท่องเที่ยวไทย อะไรที่จับต้องได้บ้าง

    ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บางสาขาให้ความเห็นว่า

     ในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวนั้นมิควรมองเพียงหาวิธีการดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างพร้อมและความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการและแรงงานในภาคการท่องเที่ยวด้วย

    ในด้านความพร้อมนั้นควรมีการสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ประกอบการที่ปิดตัวลงชั่วคราวสามารถมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบซ่อมแซมความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์หรือสถานที่เพื่อให้สามารถกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั



    และควรดึงภาคประกันภัยมาประกันความเสี่ยงหากเกิดเหตุสุดวิสัยให้ต้องปิดกิจการชั่วคราวอีกครั้ง โดยยกตัวอย่างว่า หากร้านนวดต้องการกลับมารับทัวร์อีกครั้งก็จำเป็นต้องมีหมอนวดอย่างน้อย 30 คน และเตียง 30 เตียง หากเกิดไม่คาดฝัน เช่น หลังกลับมาเปิดบริการ มีการเปิดเผยไทม์ไลน์ว่ามีผู้ใช้บริการติดเชื้อโควิด-19 นั้นก็เป็นเหตุให้ต้องปิดกิจการชั่วคราว 3-7 วัน และยังมีค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดเพิ่มเติมอีก ดังนั้น หากไม่มีการประกันความเสี่ยงตรงจุดนี้ ก็น่าทำให้สถานประกอบการต่างๆ ชะลอการกลับมาประกอบธุรกิจอีกครั้ง

      ควรมีการเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นการเฉพาะโดยผ่านกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เนื่องจากที่ผ่านมาการเยียวยาทำโดยหน่วยงานที่ไม่มีข้อมูลโดยตรง จึงทำให้ไม่ได้รับการเยียวยาตามที่ควรได้ ดังนั้นควรมีการเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ผ่านทางสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์โดยตรง โดยเสนอให้เยียวยาแก่ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ขึ้นทะเบียนก่อน 31/12/62





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การท่องเที่ยวเปรัคจัดแสดงในงาน THAILAND INTERNATIONAL TRAVEL FAIR (TITF) 2025

การท่องเที่ยวเปรัคจัดแสดงในงาน THAILAND INTERNATIONAL TRAVEL FAIR (TITF) 2025  พร้อมเปิดตัวพาวิลเลียนและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์        รัฐบาลรัฐ...